Happy Valentine's Day

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

“สาหร่ายก้อนกลม” นวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ


สาหร่ายมุกหยก นวัตกรรมใหม่ของสาหร่ายจากที่เห็นกันทั่วไป เพราะเป็นครั้งแรกของสาหร่ายก้อนกลมๆคล้ายมุก โดยเป็นความสำเร็จที่เกิดจากการคิดค้นของคนไทย โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ใน การพัฒนาสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืด สีน้ำเงินแกมเขียว ที่มีชื่อสากลและรู้จักกันทั่วไปว่า สาหร่ายนอสตอค (Nostoc)ให้มีลักษณะรูปร่างกลม เพื่อต่อยอดการผลิตเชิงการค้า

Nostoc04

ทั้งนี้ ทางวว. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสาหร่ายนอสตอค ให้กับนายบัณฑิต สายวิไล บริษัทสยามนอสตอค แอนด์ ไมโครแอลจี จำกัด เป็นผู้ผลิตภายใต้ชื่อการค้าว่า สาหร่ายมุกหยก จุดเด่นของสาหร่ายอยู่ที่ลักษณะที่เปลี่ยนไป และคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ

ที่มาของสาหร่ายมุก เกิดมาจาก ทางวว. ทำการสำรวจ และเก็บตัวอย่างสาหร่ายนอสตอคในพื้นที่ภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย พบว่า มีการบริโภคสาหร่ายนอสตอคในหลายพื้นที่ โดยรู้จักกันในชื่อต่างๆ เช่น ไข่ หิน หรือ ดอกหิน เห็ดหิน เป็นชื่อเรียกของคนภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนคนอีสานจะรู้จักกันชื่อว่า เห็ดลาบ หรือ คนเหนือจะเรียกอีกชื่อว่า เห็ดยาควร ซึ่งสาหร่ายนอสตอคแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะการเจริญเติบโตในธรรมชาติที่แตก ต่างกัน บางชนิดเป็นแผ่นวุ้น บางชนิดเป็นก้อนวุ้น


ทั้งนี้ ทางวว.เห็นว่าควรจะนำสาหร่ายดังกล่าวมาพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมต่อการเป็น ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเพื่อต่อยอดในเชิงธุรกิจต่อไป จึงได้ทำการวิจัย ซึ่งพบว่าสาหร่ายนอสตอค 5 สายพันธุ์ที่มีนั้น สาหร่ายไข่หินที่ปกติในธรรมชาติจะมีลักษณะเป็นก้อนวุ้นนิ่ม ค่อนข้างเหลว เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงโดยศึกษาวงจรการเจริญเติบโต ปรับสูตรอาหารและสภาพการเพาะเลี้ยงที่เหมาะสม ทำให้สาหร่ายที่เพาะเลี้ยงมีการเปลี่ยนรูปร่าง เป็นรูปร่างกลม เนื้อแน่น มีสีเขียวแกมน้ำเงิน มีประกายคล้ายไข่คาร์เวียร์

สำหรับสาหร่ายนอสตอค เป็นสาหร่ายที่มีอยู่ในหลายประเทศ และมีการบริโภคกันในหลายประเทศเช่นกัน เช่น ประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย มองโกเลีย ไซบีเรีย ฟิจิ โบลิเวีย เปรู เอควาดอร์ เม็กซิโก เป็นต้น

Nostoc02

นายบัณฑิต กล่าวว่า ทางบริษัทเป็นรายเดียวที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสาหร่ายมุก โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของวว. เพราะต้องเลี้ยงในห้องควบคุมและใช้สายพันธุ์ที่บริสุทธิ์และคัดสรรมาอย่างดี เพื่อให้ปราศจากสารปนเปื้อนต่างๆ และเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งทางบริษัทได้ใช้งบไปจำนวน 3 ล้านบาท ในการลงทุนทำห้องสำหรับเพาะพันธุ์สาหร่าย

โดยกำลังการผลิตสาหร่ายในปัจจุบันได้เต็มที่เดือนละ 1,000 กิโลกรัม ระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง 45 วัน ถึง 60 วัน ซึ่งขนาดของสาหร่ายที่เพาะเลี้ยงออกจำหน่ายในขณะนี้ 2 ขนาด คือ 2 ม.ม. หรือ 4 ม.ม. จึงสามารถเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของอาหารได้ตามความต้องการ

ทางบริษัทสยามนอสตอค ได้ นำสาหร่ายมุกออกมาเปิดตัวให้ผู้บริโภครู้จักมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ แต่นำออกจำหน่ายในเดือนกันยายน โดยฝากขายตามร้านขายผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ปัจจุบันมีวางจำหน่าย ที่ร้านกายใจ คลินิกบัลวี ศาลาสมุนไพร FM97 ร้านโดยเฉพาะ ที่ศิริราช และคลองสาน สาหร่ายที่นำออกจำหน่ายจะบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท เก็บในห้องควบคุมอุณหภูมิจะอยู่ได้ประมาณ 2 เดือน เก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดาจะได้ประมาณ 1 เดือน

Nostoc03

สาหร่ายที่ได้ผ่านการทำความสะอาดแล้ว และเลี้ยงในห้องควบคุมปราศจากเชื้อโรคปนเปื้อน สามารถรับประทานสดได้ทันที เพื่อเพิ่มรสชาติในการบริโภค แนะนำให้รับประทานกับอาหารชนิดต่างๆ สลัด แทนไข่ปลาคาร์เวียร์ในอาหารญี่ปุ่นใช้เป็นหน้าซูชิ ใส่ในซุปต่างๆ เป็นหน้าแซนวิชรสชาติต่างๆ เป็นต้น เหมาะกับเป็นอาหารมังสวิรัติ ลักษณะของสาหร่ายมุก คือ ไม่มีกลิ่นและรส จึงเหมาะกับการปรุงอาหารทุกประเภททั้งอาหารคาว และหวาน ของขบเคี้ยว และเครื่องดื่ม

นายบัณฑิต กล่าวถึงประโยชน์ของสาหร่ายมุก ว่า คุณสมบัติคล้ายกับสาหร่ายทั่วไป คือให้โปรตีน และให้กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย มีวิตามิน และเกลือแร่ คลอโรฟิลล์ และไฟโคไซยานิน ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบัน ทางบริษัทมียอดขายสาหร่ายเดือนละ 400 กิโลกรัม โดยราคาขายกล่องละ 100 บาท น้ำหนัก 200 กรัม ขนาด 2ม.ม. และขนาด 4ม.ม.ขายกล่องละ 150 บาท น้ำหนัก 200 กรัม
ส่วนแผนการตลาดมีแผนจะส่งออกไปขายต่างประเทศ เพราะจากการออกบูท แนะนำสินค้าในงานต่างๆ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ มีลูกค้าจากต่างประเทศให้ความสนใจต้องการสินค้า และในวงการอุตสาหกรรมอาหารให้ความสนใจต้องการจะนำไปปรุงรสแทนไข่ปลาคาร์เวีย ร์ ในช่วงนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาปรุงแต่งให้มีสี และกลิ่นที่ใกล้เคียง กับไข่กุ้งหรือไข่ปลาคาร์เวียร์ ส่วนแผนต่อไป พัฒนาเป็นอาหารแปรรูป เพื่อสะดวกในการรับประทาน



อ้างอิง : http://www.thaismefranchise.com/?p=1767

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น