Happy Valentine's Day

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม

นวัตกรรม ลาหู่ แบรนด์ โรงเรียนดอยเวียงผา บ้านปางปู่สิงห์  


   
      โรงเรียนดอยเวียงผา บ้านปางปู่สิงห์   ได้สร้างหลักสูตรท้องถิ่น วิถีชีวิตชนเผ่าลาหู่……สู่การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้กำหนดผลการเรียนที่คาดหวัง ด้านการแต่งกายของชนเผ่าลาหู่ให้สามารถเขียนรายงานการแต่งกายของชนเผ่าตนเองสามารถประดิษฐ์หรือตัดเย็บเครื่องแต่งกายของชนเผ่าของตนเองได้ โรงเรียนดอยเวียงผา บ้านปางปู่สิงห์ จึงได้คิดค้นนวัตกรรมลาหู่ เพื่อจัดการศึกษาให้สนองต่อการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ.  2544    และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2544

วัตถุประสงค์
       เพื่อสร้างนวัตกรรม ลาหู่ แบรนด์
       เพื่อศึกษาการใช้นวัตกรรม ลาหู่ แบรนด์


กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์       
       นักเรียนโรงเรียนดอยเวียงผา บ้านปางปู่สิงห์ จำนวน 604 คน
       ชาวบ้านแม่ปูนล่าง หมู่ที่ 9 ต. เวียง อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย


วิธีการดำเนินการ/ ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม

   ประชากร
       ประชากรที่ใช้ในการศึกษาการใช้นวัตกรรมครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนดอยเวียงผา บ้านปางปู่สิงห์ ปีการศึกษา 2549 จำนวน 604 คน


ขั้นตอนการดำเนินการ     
       การสร้างนวัตกรรม ลาหู่ แบรนด์ ซึ่งประกอบไปด้วย

    แผนการสอน
               ป1. ลากเส้นตามรอยประ ระบายสี
               ป2. ลากเส้นวาดลายตามแบบ
               ป3. วาดลวดลายตามลาหู่ตามจินตนาการ
               ป4. เย็บลวดลายตามแบบด้วยการเย็บมือ
               ป5. การต่อลวดลายเป็นชิ้นงาน
               ป6. การนำลวดลายมาตกแต่งเสื้อผ้า
               ม1-ม3. การนำลวดลายมาตกแต่งเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน 


      เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
               1. แบบสอบถามการใช้นวัตกรรม ฉบับผู้บริหาร
               2. แบบสอบถามการใช้นวัตกรรม ฉบับครูผู้สอน
               3. แบบสอบถามการใช้นวัตกรรม ฉบับนักเรียน


      การดำเนินเก็บรวบรวมข้อมูล
               
ดำเนินการโดยครูประจำชั้น และคณะอนุกรรมการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม

โรงเรียนดอยเวียงผา บ้านปางปู่สิงห์ 

      การวิเคราะห์ข้อมูล
               ใช้วิธีการพรรณาวิเคราะห์


ลักษณะเด่น / องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนานวัตกรรม      
      ในการพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้เกิดการพัฒนานวัตกรรมดังนี้
          ได้แผนการสอนจำนวน 7 แผนการสอนดังนี้
               ป1. ลากเส้นตามรอยประ ระบายสี
               ป2. ลากเส้นวาดลายตามแบบ
               ป3. วาดลวดลายตามลาหู่ตามจินตนาการ
               ป4. เย็บลวดลายตามแบบด้วยการเย็บมือ
               ป5. การต่อลวดลายเป็นชิ้นงาน
               ป6. การนำลวดลายมาตกแต่งเสื้อผ้า
               ม1-ม3. การนำลวดลายมาตกแต่งของใช้ในชีวิตประจำวัน


ผลที่เกิดขึ้น / ที่ปรากฏจากการใช้นวัตกรรม       
       ในการพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้เกิดผลการพัฒนานวัตกรรมดังนี้
           ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับลวดลายผ้าของชนเผ่าลาหู่ซึ่งประกอบไปด้วยจำนวน 2 แบบ คือ
               1.1 ลายแบบสามเหลี่ยม
               1.2 ลายแบบสลับฟันปลา
            ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานตลอดจนประยุกต์ไปใช้ตกแต่งผลิตภัณฑ์จนสามารถนำไปเผยแพร่มีรายได้ระหว่างเรียน
      และสามารถประกอบอาชีพในอนาคตได้ผู้บริหารสถานศึกษามีความเห็นว่าการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้สามารถพัฒนาผู้เรียนบรรลุตาม
      มาตรฐานที่ได้ตั้งไว้ในหลักสูตรครูผู้สอนมีความเห็นว่าการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้สามารถพัฒนาผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานที่ได้ตั้งไว้
      ในหลักสูตรนักเรียนมีความพอใจที่ได้เรียนตามนวัตกรรมที่สร้างขึ้นในระดับร้อยละ 70


ประโยชน์ / คุณค่าของนวัตกรรม และการพัฒนาต่อยอด               
               1.1 ในการพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้เกิดประโยชน์ดังนี้
               1.2 เป็นนการอนุรักษ์ศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้าน
               1.3 เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบสานต่อกันมาเป็นทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ
               1.4 หลังการพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้ควรพัฒนาต่อยอดดังนี้
               1.5 พัฒนาลายผ้าของชนเผ่าอื่น ๆ
               1.6 ปรับปรุงชิ้นงานให้ได้มาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น