Happy Valentine's Day

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรมพืชเมืองไทย "เทคโนกรีน"

“เทคโนกรีน”นวัตกรรมพืชเมืองไทย ต่างชาติทึ่ง! ขจัดตะกรันโรงงานชะงัก

 


นายเกษม เจริญพงษ์

      จากคนไทยที่มีเลือดรักชาติและมุ่งมั่นในการศึกษาสมุนไพรไทยอย่างจริงจัง ทำให้ก่อเกิดเป็นธุรกิจ ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มักประสบปัญหาการปล่อยน้ำเสีย ควันพิษ ส่งผลให้การอยู่ร่วมกับชุมชนเป็นเรื่องยาก แต่บริษัท เทคโนกรีน ไมโครไนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้พยายามศึกษาสรรพคุณของสมุนไพรไทย ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สุดท้ายจึงกลายเป็นนวัตกรรมที่สร้างความภาคภูมิใจของคนไทย ทั่วโลกต่างยอมรับ

ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบน้ำมัน และตะกรันในท่อแอร์

     เกษม เจริญพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทคโนกรีน ไมโครไนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า ในฐานะที่ตนเองเป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีความรักชาติ และต้องการช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมของไทยให้ดีขึ้น ทำให้หันกลับมามองสมุนไพรของไทย เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ของคนไทย 100% และทำการส่งออกไปต่างประเทศบ้าง และด้วยนิสัยส่วนตัวของนายเกษม ที่เมื่อศึกษาเรื่องใดแล้ว จะต้องลงลึกในรายละเอียดให้ลึกซึ้ง ซึ่งจากจุดนี้เองทำให้ภาครัฐฯ เชื่อมั่นในองค์ความรู้ จึงขอความช่วยเหลือให้ช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะในเรื่องน้ำเสีย ส่งกลิ่นเหม็น แต่ผลงานชิ้นแรกมีอันต้องล้มเหลว เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ก็ถือว่าการเริ่มต้นจากการลงมือทำไม่สูญเปล่า เพราะได้แนวคิดว่าการแก้ปัญหาธรรรมชาติ ต้องให้ธรรมชาติด้วยกันแก้เท่านั้น

     “หลังจากที่ผมแก้เรื่องปัญญหาน้ำเสีย ในครั้งแรกก็ต้องล้มเหลว แต่สิ่งนั้นกลับกลายเป็นการจุดประกายให้เราคิดไปถึงต้นเหตุของปัญหา และพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะให้ไป ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี หรือให้วัสดุที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงควรที่จะนำธรรมชาติเข้ามาช่วยแก้ไข และสิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกคือ สมุนไพรไทย เพราะการหากใช้สารเคมีช่วยแก้ปัญหานี้ สุดท้ายปัญหาก็ไม่หมดไป เพราะสารเคมีจะไปทำลายจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายขยะในน้ำ แต่จุลินทรีย์กลับถูกทำลายก็จะส่งกลิ่นเหม็นอีกครั้ง ซึ่งทางออกที่ดีที่สุดคือการใช้พืชของไทยสกัดเพื่อเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้เป็นอย่างดี”



     ต่อมาเมื่อนายเกษม ค้นพบแล้วว่าสมุนไพรไทยมีคุณประโยชน์มาก จึงมุ่งมั่นคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากสมุนไพรไทย เน้นใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการดูแลน้ำที่ใช้ชำระล้างวัสดุต่างๆ ที่มักจะมีคราบน้ำมัน หรือโลหะหนัก ปนเปื้อนในน้ำที่ทิ้งลงลำคลอง
     “ผลิตภัณฑ์แรกของผมคือ Micro-Nice Bio 3 Mix RP น้ำยาที่สกัดได้จากพืช สำหรับชำระล้างคราบน้ำมัน เช่น เครื่องจักร โช้คอัพ หรือชิ้นงานที่เป็นเหล็ก ที่ต้องล้างคราบน้ำมันก่อนนำไปประกอบหรือพ่นสี โดยน้ำยาตัวนี้เมื่อโดนน้ำมัน จะไม่มีความมันหลงเหลือ ช่วยให้ทำความสะอาดง่ายขึ้น โดยน้ำดังกล่าวที่ชำระล้างแล้วจะปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุดิบล้วนมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น”
     หลังจากทำงานด้านการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ในวงการอุตสาหกรรมของต่างประเทศได้ระยะหนึ่ง จึงรู้ถึงปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในระบบหอระบายความร้อนด้วยน้ำ (แอร์) โดยจะมีตะกรันในท่อน้ำและวาล์ว เช่น คราบหินปูน คราบเมือกตะไคร่ และกลิ่นอับชื้น ซึ่งที่ผ่านมาจะต้องใช้โซดาไฟ หรือ สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการกัดกร่อนสูง เพื่อให้ไปสลายตะกรันเหล่านั้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติการ และวัสดุที่ใช้ทำท่อ ดังนั้นเมื่อใช้สารเคมีเหล่านี้ไปนานๆ โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องเปลี่ยนท่อใหม่ เพราะการอุดตันของตะกรันเป็นสาเหตุหนึ่งที่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้ในการทำความเย็น


     “เมื่อผมเห็นถึงปัญหาของตะกรันที่ไปเกาะอยู่ตามท่อ จึงคิดค้นน้ำยา Micro-Nice D5 (แกลลอนละ 4,500 บาท/20 ลิตร) เพื่อดูแลป้องกันไม่เกิดตะกรัน และกำจัดตะกรันเก่าภายในระบบหอระบายความร้อนด้วยน้ำ โดยใช้น้ำยาผสมกับน้ำในระบบ ด้วยอัตราส่วน 500 ppm. (1/2 ลิตร ของผลิตภัณฑ์ต่อน้ำ 1 คิว) และหลังจากนั้น 1 เดือน ตะกรันจะหลุดออก โดยใช้มือเปล่าช่วยเขี่ยเศษตะกรันออกมาได้ ซึ่งปัจจุบันน้ำยานี้ถือเป็นสิ่งเดียวในโลก และเป็นเจ้าแรกในโลกอีกด้วย ที่คิดค้นน้ำยานี้ขึ้น จากพืชที่ปลูกในเมืองไทย”


นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
    
     ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัท เทคโนกรีนฯ ได้ส่งออกผลิตภัณฑ์สู่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ มาเลเซีย อิหร่าน และเกาหลี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ Micro-Nice D5 ที่ทุกโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องปรับอากาศ จะต้องเจอกับปัญหาเหล่านี้ ส่วนการคิดค้นผลิตภัณฑ์อื่นๆ นายเกษม ก็ยังไม่หยุดนิ่งที่จะผลิตสินค้าเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง


อ้างอิง : http://www.thaismefranchise.com/?p=10438

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น